โรงเรียนเจริญรัฐอุปถัมภ์ จัดตั้งเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2515 โดยนายเจริญ ชูพุทธพงษ์ และ
นางชื่น ชูพุทธพงษ์ ได้อุทิศที่ดินจำนวน 4 ไร่ 2 งาน 32 ตารางวา ที่ดินตั้งอยู่ที่ ต.ลำโพ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรีให้แก่ทางราชการเพื่อสร้างโรงเรียน โดยมีนายอำเภออำเภอบางบัวทอง นายอำพรรณ พงษ์สุวรรณ เป็นผู้รับมอบ และได้งบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ 014 จำนวน 1 หลัง เปิดสอนตั้งแต่ระดับ ชั้นอนุบาล 1 ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6 มีเขตพื้นที่บริการ 2 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 7 ตำบลลำโพ และหมู่ที่ 5 ตำบลละหาร อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
พ.ศ. 2516 นายสุดใจ จันทร์แจ้ง กำนันตำบลลำโพ และนายประทีป นุ่มกลิ่น ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5
ตำบลละหาร พร้อมผู้ปกครองจัดงานเปิดป้ายชื่อโรงเรียน ให้ชื่อว่าโรงเรียนเจริญรัฐอุปถัมภ์ โดยมีนายสวัสดิ์
ยะสารวรรณ นายอำเภอบางบัวทองเป็นประธาน มีนักเรียนจำนวน 70 คน เปิดเรียนตั้งแต่ชั้น ป.1 – 4 มี ครู 4 คน มีนายพริ้ง การะนุต รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ และ ได้ก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง ผู้ปกครองและกรรมการการศึกษา คณะครูได้ร่วมกันสละทรัพย์สร้างโรงอาหาร ขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 24 เมตร สูง 4.5 เมตร โครงสร้างไม้เนื้อแข็ง หลังคาสังกะสี ราคา 28,825 บาท และในปีเดียวกันนี้ นายวัน กาญจนอุดม สรรพากรอำเภอบางบัวทอง ได้บริจาคเงินสร้างสะพานท่าน้ำหน้าโรงเรียน กว้าง 2 เมตร ยาว 5 เมตร สูง 7 เมตร ราคา 2,615 บาท และต่อมานายลิ้ม แซ่โง้ว เจ้าของโรงสีข้าวรุ่งเรืองวัฒนาได้บริจาคเงินสร้างท่าน้ำขนาด 2 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 7 เมตร ราคา 10,500 บาท อีก 1 หลัง
พ.ศ.2518 สภาตำบลลำโพ ให้งบ กสช. ต่อเติมอาคารเรียนแบบ 014 จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 230,000 บาท และในปีนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ได้จัดสรรงบสร้างบ้านพักครู 1 หลัง ราคา 45,000 บาท
พ.ศ. 2519 ได้ขยายชั้นเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีนักเรียน 27 คน และได้งบประมาณปรับปรุงห้องส้วมนักเรียนแบบองค์การ ขนาด 8 ที่นั่ง กว้าง 3 เมตร ยาว 8 เมตร สูง 3 เมตร ค่าก่อสร้าง 65,000 บาท สร้างศาลาท่าน้ำด้านโรงอาหาร กว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 3 เมตร ค่าก่อสร้าง 35,000 บาท ขุดบ่อเลี้ยงปลาเพื่อใช้ในการเก็บน้ำในฤดูแล้ง กว้าง 10 เมตร ยาว 4 เมตร ลึก 1.5 เมตร ค่าขุด 15,000 บาท โดยใช้งบประมาณ กสช. ของสภาตำบลลำโพ
พ.ศ. 2520 ได้เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียน 22 คน
พ.ศ. 2521 ได้ก่อสร้างเรือนเพาะชำ โดยได้ขอความร่วมมือจากคณะกรรมการการศึกษา ประชาชน บริจาคเป็นเงิน 1,615 บาท
พ.ศ. 2522 นายพริ้ง การะนุต ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้บริหารดีเด่น
พ.ศ. 2523 โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการศึกษา ต่อท่อจากเรือขุดถมสนามโรงเรียน และได้รับงบจัดสรรจาก กสช. ปรับเป็นสนามใช้งบประมาณ 15,000 บาท
พ.ศ. 2524 ได้งบซ่อมพื้นอาคารเรียน จำนวน 170,820 บาท
พ.ศ. 2525 คณะครู กรรมการศึกษาได้ร่วมบริจาคเงินขอไฟฟ้าเข้าโรงเรียน จำนวนเงิน 17,000 บาท ขนาด 15 แอมป์ และได้งบสร้างโรงฝึกงานแบบ 312 จำนวน 1 หลัง
พ.ศ. 2526 นายพริ้ง การะนุต รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นครูใหญ่โรงเรียนเจริญรัฐอุปถัมภ์ และโรงเรียนได้รับคัดเลือกผลการประกวดจาก สปช. เรื่องมารยาท ความประพฤติ ระเบียบวินัย ความสามัคคี และบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม
พ.ศ. 2530 นายอุดม ขุนขจี มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนเจริญรัฐอุปถัมภ์ แทนนายพริ้ง การะนุต ซึ่งเกษียณอายุราชการ ปีนี้โรงเรียนได้รับงบประมาณสนับสนุนสิ่งก่อสร้างสนามเอนกประสงค์ จำนวนเงิน 50,000 บาท โดย ส.ส. ประยูร จอประยูร และโรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดชั้นเด็กเล็กมีนักเรียนจำนวน 26 คน
พ.ศ. 2532 ได้ก่อสร้างเสาธงและซุ้มพระใหม่โดยได้เงินบริจาคจากผู้ปกครองนักเรียนเป็นเงิน 6,500 บาท และได้รับบริจาคพระพุทธรูปที่มาประดิษฐานที่ซุ้มจำนวน 1 องค์ ราคา 2,000 บาท จาก คุณแม่สมใจ นุ่มกลิ่น และท่านพระครูชนม์เขตโสภณ เจ้าอาวาสวัดศรีเขตนันทาราม และในปีนี้โรงเรียนได้รับงบประมาณสนับสนุนจากส.ส. ประชุม รัตนเพียร จัดซื้อแทงค์น้ำจำนวนเงิน 10,000 บาท
พ.ศ. 2533 โรงเรียนได้เข้าโครงการ กศ.พช. ได้งบประมาณสนับสนุน 10,000 บาท นำมาจัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพเลี้ยงไก่ ซื้อเครื่องขยายเสียง ปัตตาเลี่ยน 3 ชุด และได้รับงบสนับสนุนจาก ส.ส. ประชุม รัตนเพียร จัดซื้อเครื่องเล่นเด็กเล็ก 1 ชุด 5 ชิ้น เป็นเงิน 12,000 บาท
พ.ศ. 2534 โรงเรียนได้รับงบสนับสนุนโครงการ กศ.พช. อีก 10,000 บาท มาจัดกิจกรรมเพาะเห็ด ซื้อเก้าอี้ตัดผมชาย 1 ตัว ปัตตาเลี่ยน 2 ชุด และในปีนี้ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน 1 หลัง แบบ สปช. 105/29เป็นเงิน 155,400 บาท
พ.ศ. 2535 โรงเรียนได้รับงบประมาณค่าต่อเติมอาคารเรียนแบบ สปช. 105/29 โดยบริษัท พลวัฒน์ก่อสร้าง ค่าก่อสร้าง 280,000 บาท แล้วเสร็จทั้งหลังวันที่ 10 กรกฎาคม 2535
พ.ศ. 2536 โรงเรียนได้รับเงินบริจาคจากผู้ปกครองเพื่อนำมาก่อสร้างรั้วของโรงเรียนเป็นแบบอิฐบล๊อกยาว 40 เมตร เป็นเงิน 30,000 บาท
พ.ศ. 2537 กรมโยธาธิการได้จัดงบประมาณขุดเจาะบ่อบาดาลหมู่บ้านที่โรงเรียน และในปีนี้การประปานครหลวงได้วางท่อ จากบางบัวทองถึงโรงเรียน และในปีนี้โรงเรียนได้ก่อสร้างรั้วเพิ่มเติมอีก 24 เมตร เป็นเงิน 36,000 บาท โดยเงินบริจาคจากผู้ปกครองนักเรียน
พ.ศ. 2538 โรงเรียนได้ก่อสร้างห้องครัว โดยเงินบริจาคจากผู้ปกครอง เป็นเงิน 6,000 บาท และได้รับเงินบริจาคจำนวนเงิน 10,000 บาท เพื่อมาจัดซื้อพัดลมเพดานห้องเรียน 8 ตัว และซื้อตู้น้ำเย็นจำนวน 1 ตู้
พ.ศ. 2539 โรงเรียนเปิดสอนชั้นอนุบาล 1 มี นักเรียน 26 คน
พ.ศ. 2540 โรงเรียนได้ขออนุญาตรื้ออาคารเรียน แบบ ป.1 ข จำนวน 2 หลัง และได้รับงบประมาณทำโรงเรียนให้เป็นปัจจุบันจำนวนเงิน 87,000 บาท ให้มาทาสีอาคารเรียน โดยโรงเรียนได้ซ่อมโรงอาหารโดยเปลี่ยนหลังคาจากสังกะสีเป็นกระเบื้อง เทพื้นคอนกรีต ทำลูกกรงเป็นอิฐบล๊อก ทาสีโรงอาหาร โรงฝึกงานและส้วม และในปีนี้ได้รับงบน้ำท่วมเป็นเงิน 8,300 บาท มาซ่อมโรงฝึกงานโดยเปลี่ยนฝาใต้ห้อง หน้าต่างจากไม้เป็นก่ออิฐบล๊อก เปลี่ยนบานประตูใหม่
ในปีนี้โรงเรียนปฏิรูปการศึกษาปี 2540 ได้รับงบประมาณการก่อสร้าง ห้องปฏิบัติการทางภาษา จำนวน 1 ห้อง
พ.ศ. 2543 นางโสภัคค์ กลีบบัว มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ แทนนายอุดม ขุนขจี ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ที่โรงเรียนบางระโหง (ภิรมย์ศิริ) สปอ.เมือง สปจ.นนทบุรี
พ.ศ. 2546 นายศุภกฤษ ไชยศร ย้ายมาดำรงดำแหน่งอาจารย์ใหญ่ แทนนางโสภัคค์ กลีบบัว ซึ่งย้ายสับเปลี่ยนกัน ไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนดอนกอกเกตสมบูรณ์ สปอ.ประทาย สปจ.นครราชสีมา และจัดกิจกรรมทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษาได้เงิน 100,000 บาท ได้ปรับปรุงห้องเรียนโดยการปูกระเบื้องจำนวน 10 ห้อง
พ.ศ. 2547 องค์การบริหารส่วนตำบลลำโพ ได้จัดสรรงบประมาณและดำเนินการปรับปรุงสนามฟุตบอลและถมบ่อปลาโรงเรียน จำนวน
|